ประวัติ และความเป็นมาของดนตรีหมอลำ อีกหนึ่งศิลปะที่มีคุณค่า

ะความเป็นมาของฃดนตรีหมอลำ
ศิลปะการ “ลำ” นั้นมีการแสดงพื้นเมืองที่พบได้ในภาคอีสานของประเทศไทย ซึ่งกว่าจะกลายมาเป็นหมอลำอย่างทุกวันนี้ ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาหลายช่วงยุคสมัย การลำในสมัยก่อนนั้นเป็นการนำเสนอเนื้อหาของนิทานพื้นบ้านที่แพร่หลายในอดีต อย่างเช่นเรื่องการะเกด และนางแตงอ่อน โดยในยุคนั้นจะมีหมอลำเพียง 1 กับ คนเป่าแคน 1 คน (เรียกว่าหมอแคน)
ต่อมาได้เพิ่มมาเป็น 2 คน อาจจะเป็น ชายคู่กับชาย หรือ ชายคู่กับหญิงก็ได้ ภายหลังได้มีการยกเลิกการลำชายกับชาย จึงเหลือแต่การแสดงหมอลำของชายกับหญิง ที่สืบทอดต่อมาจนถึงยุคปัจุบันนี้ รูปแบบของการลำยังคงเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ครั้งนี้จากการลำเพียงไงไม่กี่คน เพิ่มขึ้นมาเป็นการ “ลำหมู่” หรือเรียกว่า “หมอลำหมู่” ประกอบไปด้วยสมาชิกกว่า 10 คน จึงเกิดการตั้งคณะหมอลำขึ้น โดยคณะที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในยุคปี พ.ศ. 2506 คือ “รังสิมันต์” เป็นคณะหมอลำประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ประเภทของการลำแต่ละแบบ

- 1.ลำแบบโบราณ เป็นการลำประกอบทิทานสมัยก่อน โดยผู้ใหญ่ในสมัยก่อนมักจะชื่นชอบเป็นอย่างมาก มันไม่มีท่าที่ตายตัวเหมือนกับการลำในปัจจุบัน หรือแม้แต่ดนตรีประกอบก็ไม่มี ขึ้นอยู่กับตัวผู้ลำเองว่าจะใช้ท่าทางแบบไหน
- 2.ลำคู่ เป็นการลำแบบคู่ชายกับหญิง ใช้แคนเป็นเครื่องดนตรีประกอบหลัก ลำที่ได้รับความนิยมคือ “ลำทวย” เป็นการลำที่จะต้องตอบปัญหาทายโจทย์ของฝ่ายตรงข้าม
- 3.ลำกลอน เป็นการลำที่คล้ายกับลำคู่ แต่จะมีจำนวนคนเพิ่มมาอีก 1 คน ซึ่งคนที่เพิ่มมาอาจจะเป็นชาย หรือเป็นหญิงก็ได้ นิยมเล่นเรื่องรักสามเศร้าอย่าง “ลำชิงชู้”
- 4.ลำหมู่ เป็นรูปแบบการลำที่เน้นจำนวนคนแสดง เพื่อเพิ่มความสนุกสนานในการรับชม มีเครื่องดนตรีประกอบหลายชนิด จนกระทั่งมีดนตรีลูกทุ่งเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้วงดนตรีหมอลำต้องประยุกต์เปลี่ยนมาเป็น “ลำเพลิน” เป็นการจำดนตรีของลูกทุ่งมาใช้ ช่วยเพิ่มความคึกครื้นให้กับการแสดงกลับมาฮิตอยู่ช่วงหนึ่ง
- 5.ลำซิ่ง เมื่อหมอไม่ค่อยได้รับความนิยมอย่างที่เคย เพราะมีดนตรีสมัยใหม่เข้ามาเผยแพร่ ทำให้ผู้คนเริ่มล้มหายตายจากปล่อยให้วงการหมอลำเกือบตายไปในที่สุด แต่แล้วก็เกิดความคิดสร้างสรรค์ ในการรูปแบบการลำแบบ “หมอลำซิ่ง” ด้วยการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย โดยนำเอาเครื่องดนตรีสมัยใหม่มาใช้ประกอบเพลง ทำให้วงการหมอลำกลับมาเฟืองฟูอีกครั้ง เขาถึงกับกล่าวเอาไว้ว่า “หมอลำนั้นไม่มีวันตาย”